Archive for อื่นๆ ไม่เข้าพวก

ทำดีไม่หวังผลตอบแทน มีจริงบนโลกนี้หรือ?

มาต่อกับเอนทรี่ ที่ผมเกริ่นไว้ในคราวก่อนกันนะครับ

สิ่งที่ผมจะพูดต่อไปนี้ อาจขัดใจพวกโลกสวยหลายๆ คน เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่าตัวเองโลกสวย กด X ทางขวามือออกไปเลยครับ

เอาล่ะ เข้าเรื่องจริงๆ ซักที มุมมองนี้เป็นเฉพาะมุมมองของผมคนเดียว เพราะฉะนั้น อาจผิดพลาดไปบ้างนะครับ ปรัชญาที่หนึ่งกล่าวไว้ว่า ทุกคนเกิดมาเป็นคนชั่ว การทำดีจึงเป็นสิ่งที่เหมือนของปลอม (ราวๆ นี้แหละจำได้ไม่หมด -_-) นั่นก็ถูกของเขาครับ มนุษทุกคนไม่รู้จักพอผม มีกิเลสตัณหา อยากจะหาสิ่งของนอกกายมาเพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเอง (ผมก็เป็นมนุษเดินดินคนนึง แบบนี้ก็ต้องเป็นครับ) เอาล่ะ มาเข้าเรื่องกัน จริงหรือ ที่คำว่า ทำดีหวังผลตอบแทนนั้น ไม่มีอยู่จริงบนโลกนี้ เรื่องนี้คือเรื่องจริงครับ อย่างน้อยๆ เวลาคุณช่วยเหลือใคร คุณก็หวังคำว่าขอบคุณแล้วถูกมั้ยครับ? หรือจะเถียง?

เพราะฉะนั้น คำนี้ถึงไม่มีจริงบนโลกนี้ตามความคิดของผมไงครับ ตามสัญชาติญาณมนุษแล้ว ทุกคนทำเพื่อตัวเองทั้งนั้นครับ แต่เพราะไม่ว่าจะเป็นคำสอนจากคนรุ่นก่อนๆ ศาสนา กฏหมายบ้านเมือง หรือจะอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนเรา รู้จักช่วยเหลือคนอื่นในสังคม ทำให้สังคมของคนเรานั้นไม่วุ่นวายหรือเกิดกลียุคขึ้น

แต่ถึงหัวข้อผมจะเกริ่นแบบนั้น ผมก็ยังสนับสนุนให้ทุกคนทำดี ช่วยเหลือคนอื่นเท่าที่เราพอจะช่วยได้ (มายืมตังก็ขอบายนะครับ!) แต่ผมคิดว่า มันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้มีคนดี 100% ในโลกของเราได้ แต่ จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด คือตัวของเราเอง ไม่ว่าใครจะว่ายังไง ผมก็ยังขอทำตามเจตนารมณ์ของผมต่อไป ถึงจุดยืนอาจมีเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่หลักๆ เนื้อหายังคงเหมือนเดิมครับ

มารายงานตัว

หลังจาก จขบ หายหน้าหายตาไปนานพอสมควร ยังอยู่ดีครับ ไม่ได้ตายอย่างที่หลายๆ คน (?) แช่งกันมานักหนาหรอก ฮ่าๆ

เรื่องอื่นๆ ยังไง สำหรับท่านที่ิติดตาม จะทยอยมาเขียนต่อเพิ่มให้ครับ แต่ไม่รู้จะมีอารมณ์มาเขียนต่อหรือเปล่านะ -.-

รายงานตัว

กลับมารายงานตัว หลังจากหายไปนาน เจ้าของยังไม่ตายน๊าาาา แต่พักนี้ไม่รู้จะเขียนอะไรดี T_T

สมองคน แบบ Multi Threading (ขอเรียกว่างี้ละกัน)

ขอเกริ่นก่อนนะครับ ที่ผมหมายถึงคือ สมองคนที่ทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน เทียบกับคอมแล้วก็ประมาณ Multi Threading แหละครับ เด็กไทยมีคนที่มีสมองประเภทนี้หลายคน แต่มักถูกผู้ใหญ่มองว่าสมาธิสั้น (เพราะอาการคล้ายๆ กัน) ไม่สนใจการเรียน สาเหตุเพราะอะไร? เพราะคนเหล่านี้ ทำงานเพียงอย่างเดียว “ไม่ได้” ครับ จำเป็นต้องมีงานอีกอย่างเข้ามาให้คิดด้วย ก็เลยดูเหมือนว่าเขาจะไม่สนใจเรียน ทั้งๆ ที่เขาก็เรียนอยู่นั่นแหละ โดยส่วนตัว ผมนับถือเขา หรือคนประเภทนี้ว่าเก่งครับ (ผมก็เป็น 1 ในนั้น /me เหมือนหลงตัวเองเลยเนอะ) ถึงแม้ผู้ใหญ่จะมองเขาว่าไม่ดี แต่สมองของคนประเภทนี้มีประโยชน์ในหลายๆ ด้านที่คนปกติทำไม่ได้ครับ ขอยกตัวอย่างในสายงานโปรแกรมเมอร์ของผมก็แล้วกัน

ในขณะที่ผมทำ coding อยู่นั้น ผม หรือคนอื่นๆ ที่คล้ายๆ กัน จะสามารถเขียนโปรแกรม พร้อมกับคำนวนผลลัพธ์ของโปรแกรมในสมองไปด้วย ในขณะที่ยังไม่รันโปรแกรม หรือไม่ก็ วาด Flow Chart แล้วเขียนโปรแกรมลงตรงนั้นเลยสดๆ ซึ่งคนทั่วไปทำแบบนี้ไม่ได้ (เถียงสินะ?) งั้นลองมาดูข้อต่อไปนี้ ว่าคุณทำได้หรือเปล่า?

1.คิดผลลัพธ์ของโปรแกรม ว่าจะออกมายังไง ก็สามารถเขียนโปรแกรมแบบนั้นได้เลย
2.สามารถคอมไพล์แล้วแทบจะไม่พบ Error ใน logical ของโปรแกรม (คนปกติคอมไพล์แล้วคอมไพล์อีก)
3.สามารถเขียนโปรแกรมไป และรู้ผลลัพธ์ของการทำงานนั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้อง run โปรแกรมขึ้นมา (มี Interpreter ในสมอง)

ถ้าคุณทำได้ คุณเป็น 1 ในผู้มีสมอง Multi Threading แล้วครับ (มีโอกาสที่จะเป็นถึง 20% หาไม่ยากหรอกครับ เพราะคุณก็อาจจะเป็นโดยไม่รู้ตัวเองเลยก็ได้)

แต่ข้อเสียของคนประเภทนี้ ก็มีนะครับ ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเลย โดยจะไม่สามารถทำงานที่ต้องจดจ่ออะไรนานๆ ได้ เช่น เขียนหนังสือ หรือ ลอกข้อความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ฯลฯ ครับ

ขอบอก ณ ที่นี้ว่า หากคุณเจอคนประเภทนี้ อย่าดูถูกว่าเขาสมาธิสั้นนะครับ เขานี่แหละ เก่งตัวจริงเลย

โปรแกรมเมอร์? สิ่งที่คนนอกวงการไม่รู้

นานๆ ทีได้มาเขียนบทความซักที ฮ่าๆ วันนี้จะมาในเรื่อง “โปรแกรมเมอร์? สิ่งที่คนนอกวงการไม่รู้”

เกริ่นๆ กันซักนิดนึง คุณคิดว่าโปรแกรมเมอร์คือใคร? พ่อมดที่บัลดาลโปรแกรมทุกอย่างในคอมได้ใช่มั้ย? เกือบถูกครับ เขาสามารถเขียนโปรแกรม (เกือบ) ทุกอย่างได้บนคอมจริงๆ แต่ไม่ใช่จะได้มาง่ายๆ นะครับ ทุกอย่าง สิ่งที่เสียไปก็คึือ เวลา ครับ จริงมั้ย การเขียนโปรแกรม การทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์อะไรซักอย่างนึง คุณ (ถ้าคุณไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับ IT เลยนะ) จะเห็นว่ามันเป็นสิ่งง่ายๆ แต่ความจริงแล้วมันไม่ง่ายอย่างที่คิดครับ เอาล่ะ สิ่งที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับโปรแกรมเมอร์ (อ้างอิงตามผมคิดละกัน) มันมีอะไรบ้าง

1.โปรแกรมไม่ได้คลิกๆ แล้วออกมาเป็นรูปร่าง
2.การเขียนโปรแกรม 1 โปรแกรม มีขั้นตอนมากมาย เริ่มตั้งแต่การออกแบบโปรแกรมใส่กระดาษ (เดี๋ยวนี้คงไม่ใส่กระดาษกันแล้วมั้ง) ออกแบบ Flow ระบบ ออกแบบหน้าตาโปรแกรม เขียนโค๊ด ทดสอบ ถ้ามีับั๊ก ก็แก้ แล้วก็ปล่อยโหลด
3.บางครั้ง การเขียนโปรแกรม ไม่ได้มีคนเขียนคนเดียว
4.โปรแกรมเมอร์ ทำงานดึก ตื่นสาย

ฯลฯ คร่าวๆ แค่นี้ก่อน เพราะประสบการณ์ผมแต่ก่อน กว่า Audition Agent Release แรกจะออกมาได้ ก็ล่อไปเดือนครึ่ง ไม่ได้หลับไม่ได้นอนกันทั้งเดือน = =